เวลาราชการ

จันทร์- อาทิตย์ 8.30 - 16.30 

(เว้นวันหยุดราชการและวันหยุด กศ.พท.)

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

bilingual thai english big edit

Monday, 29 June 2020 16:12

ประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรมตลอดลุ่มน้ำบางปะกง

Written by
Rate this item
(0 votes)

มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรามุ่งสู่การขับเคลื่อน “มหาวิทยาลัยรับใช้สังคม” ผนึกกำลัง 8 หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นทั้ง 8 จังหวัด และ CEO สถานศึกษาในพื้นที่ในการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรมตลอดลุ่มน้ำบางปะกงแบบมีส่วนร่วมรองรับการเติบโตของพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (Post-Covid)

รองศาสตราจารย์ ดร. ดวงพร ภู่ผะกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์คนึงนิตย์ ชื่นค้า หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติ และศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดฉะเชิงเทรา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ พร้อมด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาที่หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดตั้งอยู่ 8 หน่วยงาน ได้แก่ จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด และฉะเชิงเทรา ได้ร่วมประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินการขับเคลื่อนโครงการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรมตลอดลุ่มน้ำบางปะกงรองรับการเติบโตและการขยายเมืองรองรับการเติบโตของพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยพลังในการขับเคลื่อในครั้งนี้ มีแนวทางร่วมกันเพื่อมุ่งหวังให้เกิดการแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติที่มีความวิกฤติและจัดระบบการบริหารจัดการ เฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบ สถานการณ์ทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และศิลปกรรมท้องถิ่น ให้เป็นระบบและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในเขตพื้นที่ที่มีการเติบโตและการขยายเมืองรองรับการเติบโตของพื้นที่ เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งโครงการดังกล่าวถือได้ว่าเป็นความร่วมมือในการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมที่มีความวิกฤติและสร้างระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรมให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ตลอดจนเกิดการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานเพื่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพสูงสุดอีกด้วย
รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงพร ภู่ผะกา อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เปิดเผยว่าโครงการดังกล่าวเป็นบทบาทของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ที่มีพันธกิจมุ่งสู่การเป็น “มหาวิทยาลัยรับใช้สังคม” โดยเฉพาะประเทศไทยกำลังประสบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งเริ่มมีการระบาดมาตั้งแต่ช่วงเดือนมกราคมที่ผ่านมา และในปัจจุบันสถานการณ์คลี่คลายไปในทิศทางที่ดี แต่ประชาชนจำนวนหนึ่งเกิดสภาวะขาดรายได้ในการดำรงชีพ ด้วยเหตุผลดังกล่าวมหาวิทยาลัยราชนครินทร์ในฐานะที่เป็นสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนทางด้านการศึกษาสิ่งแวดล้อม และมีคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางหลากหลายสาขาวิชานำทักษะเฉพาะด้านบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม การสำรวจผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการสนับสนุนกิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาขาดแคลนรายได้ในช่วงนี้ โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการเติมความรู้ที่ถือว่าเป็น “วัคซีน” ให้ผู้ประสบปัญหาเตรียมตัวเองที่จะรองรับการประกอบอาชีพหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิค -19 (Post covid)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์คนึงนิตย์ ชื่นค้า หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดฉะเชิงเทรากล่าวว่า หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติดังกล่าวจัดตั้งขึ้นภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหลายหลายสาขา และมุ่งการดำเนินการประสานงานการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในท้องถิ่น เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจในเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ศึกษารวบรวมบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรม ตรวจสอบดูแลสิ่งแวดล้อมโดยรอบแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรมในพื้นที่รับผิดชอบและรายงานสถานการณ์ที่คาดว่าจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมโบราณไปยังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สนับสนุนให้มีการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมในแต่ละท้องถิ่นให้ถูกวิธี และประชาชนในชุมชนมีบทบาทสำคัญด้วยการเสริมสร้างบุคลากรในท้องถิ่นให้มีคุณภาพสนับสนุนข้อมูลทางวิชาการให้ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการพิจารณาโครงการพัฒนาต่างๆ ที่จะเข้ามาในพื้นที่ที่เป็นแหล่งธรรมชาติและศิลปกรรมเพื่อให้การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติศิลปกรรมเป็นไปอย่างสอดคล้องกัน

Read 294 times
© Copyright 2024 ARIT@RRU. All Rights Reserved.

Search